วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

รูปที่ประทับใจ ชื่อภาพ แลกันเอาเอง

ชื่อภาพ แลกันเอาเอง
ผมประทับใจรูปนี้มากเหมือนกันว่าตัวเราเองได้ย้อนกลับไปในสมัยก่อน
อีกอย่างก้เป็นฉากสำคัญของหนังพระนเรศวร ภาค 3
แล้วก็มีเพื่อนๆสนิทผมอยุ่ในกลุ่มนี้ครบทุกคนเป็นตำนานเล่าขานสู่กันมา
เพื่อนๆทุกคนได้แต่งตัวตามนักแสดงที่ตนเองชื่นชอบ
บางคนอยากเป็นพม่า(ไม่รู้ว่ากลับชาติมาเกิดหรือป่าว)
บางคนเป็นคนไทยเพราะมีจิตสำนึกรักประเทศไทยของเราอยุ่ 5555555555555555555
การศึกษาดูงานครั้งนี้ ขอขอบคุณ ผศ.อาภาพร เจริญวัฒน์ ดร.สุนันทา พิมพ์หนู อ.ยุติกร คำแก้ว นะครับ

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

*-* มีให้คิด *-*

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่ใช่ไม่ดีเสมอไป แต่จะช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับชีวิต และจะดีกว่านั้นหากเราได้สัมผัสกับมันเอง

เปรี้ยวปาก

แก้วค็อกเทล

แก้วค็อกเทล


เครื่อง ดื่มแต่ละชนิดจะมีแก้วเฉพาะเป็นของคู่กัน เครื่องดื่มที่ใส่แก้วที่ถูกต้องนอกจากจะทำให้เครื่องดื่มดูสวยงามแล้ว ยังทำให้เราสามารถได้รับรู้รสชาติของเครื่องดื่มที่แท้จริงได้มากที่สุด ยกตัวอย่าง ถ้าเสิร์ฟเบียร์ในแก้วกาแฟจะทำให้เราไม่เห็นสีสันอันสวยงามของเบียร์ และแน่นอนยังส่งผลให้เราดื่มเบียร์ไม่อร่อยอีกด้วย ถ้าเราดื่มไวน์ในแก้วไฮบอลล์ (แก้วทรงกระบอก) เราก็ไม่สามารถรับกลิ่นและรสชาติทั้งหมดของไวน์แก้วนั้นได้
แก้วที่ใช้จะ ต้องมีรูปทรงสวยงาม ขนาดพอเหมาะกับปริมาณของเครื่องดื่ม ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป สีของแก้วไม่ควรบดบังสีของเครื่องดื่ม ดังนั้นแก้วที่มีสีจึงไม่ควรใช้ เมื่อเทเครื่องดื่มลงแก้วควรจะห่างจากขอบแก้วประมาณ 1 เซนติเมตร จึงจะเป็นแก้วที่เหมาะกับปริมาณเครื่องดื่มแก้วนั้น

แก้วในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 4 ประเภท

1. แก้วทรงกระบอก Tumbler
เป็นแก้วที่ใช้มากที่สุด ขนาดจะแตกต่างกันไป แต่ละขนาดจะมีชื่อแตกต่างกัน

บางครั้งชื่อเหมือนกันแต่ผลิตคนละบริษัท ขนาดของแก้วอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่จะไม่เกิน 2-3 ออนซ์
-โอนด์แฟชั่น (Old Fashioned) ขนาด 6-8 ออนซ์
-ไฮบอลล์ (Highball) ขนาด 8-10 ออนซ์
-ลอง ดริ้ง (Long Drink) ขนาด 14-16 ออนซ์

2 .แก้วมีฐานรองรับ (Footed Glass)
ก้นแก้วจะมีก้านสั้นมาก หรืออาจไม่มีก้านเลยตั้งอยู่บนฐานรองรับ เช่นเดียวกับแก้วทรงกระบอกมีหลายขนาด แต่ละขนาดจะมีชื่อที่แตกต่างกัน
- เฮอร์ริเคน (Hurricane) ขนาด 20-22 ออนซ์
- บรั่นดี สนิฟเฟอร์ (Brandy Sniffer) ขนาด 12-14 ออนซ์

3 แก้วมีก้าน (Stemed Glass)
เป็นแก้วที่มีก้านยาวสวยงาม มีฐานรองรับ มีหลากหลายขนาดและชื่อ
- มาร์ตินี่ (Martini) ขนาด 2-4 ออนซ์
- แชมเปญ ฟลุท (Champagne Flute) ขนาด5-6 ออนซ์

4 แก้วที่มีหู (Mug)
เป็นแก้วที่ค่อนข้างหนา มีหูจับ ใช้สำหรับเสิร์ฟ

*-* *-*

รายชื่อแก้วชนิดต่าง ๆ ที่ใช้เป็นภาชนะใส่เครื่องดื่ม

รายชื่อแก้วชนิดต่าง ๆ ที่ใช้เป็นภาชนะใส่เครื่องดื่ม

ชื่อแก้ว
ขนาด (ออนซ์ )
ประเภทของเครื่องแก้ว
Pilsner (พิลซเน่อร์)
12
เบียร์ หรือ สองก์ดริ้งค์
Snigter (สนิฟเทอร์)
24 - 32
บรั่นดี หรือค็อกเทล
Red Wine Gobket (เรดไวน์ ก็อบเบล็ท)
8
ไวน์แดง หรือค็อกเทล
White wine goblet (ไวทไวน์ ก็อบเบล็ท)
8
ไวน์ขาว หรือค็อกเทล
Rolly Polly (โรลลี้ พอลลี่ )
12
มิกซ์ดริ้งค์
On the Rock (ร็อค)
4
มิกซ์ดริ้งค หรือออนเดอะร็อค
Rhine wine (ไรน์ไวน์)
12
ไวน์โรเซ่ หรือไอริช คอฟฟี่
Fizz (ฟิซ)
8
ค็อกเทล เช่น ยินฟิซ
Flite (ฟลุท)
8
แชมเปญ หรืออาจใช้แทนแก้วฟิซ
Martini (มาร์ตินี่)
8
มาร์ตินี่หรือ ค็อกเทล
Double matini (ดับเบิ้ลมาร์ตินี่)
8
มาร์ตินี่ หรือค็อกเทล
Cocktail (ค็อกเทล)
4 - 5
ค็อกเทล
Champagne (แชมเปญ)
4
แชมเปญ หรือค็อกเทล
Old Fasioned (โอลดแฟชั่น)
6
ค็อกเทล
Highball (ไฮบอล)
8
มิกซ์ดิร้งค์
Chimney (ซิมนี่)
12
ลองก์ดริ้ง
Cordial (คอร์เดียล)
1 - 1 1/2
เรนโบว์ หรือลิเคียวร์
Cherry(เชอรี่)
6
เหล้าเชอรี่ หรือค็อกเทลบางชนิด
Beer Mug (เบียร์ มักจ)
12
เบียร์ หรือฮ็อทดริ้งค์
Brandy
6 - 24
บรั่นดีหรือค็อกเทล

รู้จักกับค็อกเทล

รู้จักกับค็อกเทล

ค็อกเทล

เครื่องดื่มผสมที่มีต้นกำเนิดเป็นปริศนา เกิดขึ้นมาเมื่อไร ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน แต่ถ้าจะย้อนไปในประวัติศาสตร์ของการผสมเครื่องดื่มแล้ว การผสมเครื่องดื่มชนิดนี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่ในศตวรรษที่ 14 ในประเทศฝรั่งเศส โดยในยุคแรกๆ จะใช้เบียร์ หรือเหล้าน้ำผึ้งเป็นส่วนผสมหลัก มาผสมเข้ากับเหล้าที่ใส่เครื่องเทศ (เอล) และเรียกเครื่องดื่มผสมชนิดนี้ว่า “Bragget" (บรากเกรท) ที่นิยมดื่มกันมากในวันอาทิตย์ ก็เลยเรียกกันติดปากว่า "Bragget Sunday” ต่อมาในศตวรรษที่ 17 ได้เปลี่ยนมาใช้ ไวน์ เหล้า เครื่องเทศ และน้ำผลไม้ต่างๆ มาผสมเข้ากัน โดยจะมีลักษณะคล้ายน้ำพั้นช์ ที่ใส่ไว้ในภาชนะใบใหญ่ เพื่อแจกจ่ายแบ่งกันดื่มกินในงานเลี้ยง งานรื่นเริงต่างๆ มาจนถึงศตวรรษที่ 18 เริ่มนิยมผสมเครื่องดื่มแบบไม่ใส่เครื่องเทศ ที่เรียกกันว่า "Sangarees" (ซองการีส) และเครื่องดื่มที่นำเหล้ามาผสมกับน้ำตาล ที่เรียกว่า "Togdiss" (ท็อดดีส์)

ใน ยุโรปช่วงต้นศตวรรษที่ 18 เครื่องดื่มผสมที่นำน้ำตาล หรือน้ำผลไม้มาผสมเข้ากับเหล้าค็อก-เอล (Cock-Ale) เป็นที่นิยมดื่มกินกันในงานเลี้ยงฉลอง โดยเฉพาะชาว Bordeaux (บอร์โดซ์) ในประเทศฝรั่งเศส จะนิยมดื่มเครื่องดื่มผสมที่เรียกกันว่า "Coquetel" (ค็อคแตล์)

ต่อ มาในปี ค.ศ. 1775-1783 เกิดสงครามประกาศอิสรภาพขึ้นที่อเมริกา โดย ประธานาธิบดี ยอร์จ วอร์ชิงตัน ได้ขอให้ฝรั่งเศลส่งทหรามาช่วยรบกับทหารอังกฤษ ในช่วงนั้นเกิดเครื่องดื่มผสมขึ้นมาชนิดหนึ่ง ที่ทหารฝรั่งเศลนำมาผสมดื่มกินกันด้วย เรียกว่า "Coquetel" และเครื่องดื่มชนิดนี้ได้เผยแพร่ไปในหมู่ทหารอเมริกาอย่างรวด เร็ว และเป็นที่นิยมอย่างมากจนกระทั่งสงครามสงบลง ซึ่งชาวอเมริกันก็ยังนิยมดื่มกินกัน เรียกชื่อเครื่องดื่มชนิดนี้ ด้วยสำเนียงที่เพี้ยนว่า "Cockters" (ค็อกเทอร์) และต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นคำว่า "Cocktail" (ค็อกเทล) ในที่สุด

ค็อกเทล สตรอเบอรี่

ค็อกเทล สตรอเบอรี่


เริ่ม ต้นปีใหม่อย่างสดใส ด้วยค็อกเทลสีแดงสดใสซาบซ่า เพิ่มคุณค่าด้วยวิตามินซี ให้ความจี๊ดจ๊าดสะใจ มีทั้ง "สตรอว์เบอรี่ เลิฟเวอร์" (Strawberry Lover) สูตรผสมแอลกอฮอลล์ และ "สตรอว์เบอรี่ สมูท" (Strawberry Smooth) สดชื่นไร้แอลกอฮอลล์ สูตรโรงแรมแอมบาสซาเดอร์

*Strawberry Lover* ส่วนผสม เหล้าไลท์ รัม 1 ออนซ์ ทริปเปิ้ล เชค 1/2 ออนซ์ เหล้าหวานกลิ่นสตรอเบอรี่ 1/2 ออนซ์ สตรอว์เบอรี่สด 2 ลูก แยม
สตรอว์เบอรี่ 2 ช้อน Sweet & Sour Mix 1 ออนซ์

*Strawberry Smooth* ส่วนผสม สตรอว์เบอรี่สด 4 ลูก สตรอเบอรี่ โยเกิร์ต 1/2 ถ้วย แยมสตรอว์เบอรี่ 2 ช้อน น้ำแอปเปิ้ล 1 ออนซ์ น้ำเชื่อม 1 ออนซ์

วิธีทำ : นำสตรอว์เบอรี่สดมาปั่นรวมกับน้ำแข็งเกล็ดพร้อมกับส่วนผสมทั้งหมด เทใส่แก้ว ตกแต่งด้วยลูกสตรอว์เบอรี่ พร้อมเสิร์ฟ